วิธีตรวจสภาพ รถฟอร์คลิฟท์ ก่อนและหลังใช้งานประจำวัน

        กรณีตรวจสภาพก่อนใช้งานประจำวัน และพบความผิดปกติหรือความบกพร่องของ รถโฟล์คลิฟท์ ให้แจ้งหัวหน้างานทันทีการตัดสินใจในการหยุดหรือให้ใช้งานต่อด้วยเงื่อนไขใดให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้างาน
การตรวจสอบตรวจสภาพรถโฟล์คลิฟท์ก่อนใช้งานประจำวัน แบ่งออกเป็น ลำดับ คือ
       1.  วิธีตรวจสอบตรวจสภาพรถโฟล์คลิฟท์ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์ (Pre-Check) 
       2.   วิธีตรวจสอบตรวจสภาพรถโฟล์คลิฟท์หลังสตาร์ทเครื่องยนต์ (Functional Check)
       3.   วิธีตรวจสอบตรวจสภาพรถโฟล์คลิฟท์หลังจากจอด (Parking Check)




1. ตรวจสอบก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์ (Pre-Check)
– ควรตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องยนต์ ให้ดึงก้านวัดระดับน้ำมันหล่อลื่นขึ้นมา ใช้ผ้าเช็ดทำ   ความสะอาด ดันคืนกระทั่งสุดและดึงออกมาอ่านค่าระดับ ระดับต้องอยู่ระหว่าง Upper กับ Lower หากระดับต่ำน้ำมันหล่อลื่นอาจรั่วไหลออกนอกระบบ หากสูงอาจมีน้ำหล่อเย็นรั่วไหลลงอ่างน้ำมันหล่อลื่น
– ควรตรวจสอบระดับน้ำยาหล่อเย็นในหม้อน้ำสำรอง
– ควรตรวจสอบระดับน้ำมันไฮดรอลิกส์
– ควรตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นในห้องเกียร์
– หากเป็นแบตเตอรี่แบบเปียก ให้ตรวจระดับน้ำกลั่น แบตเตอรี่แบบเปลือกทึบให้เปิดฝาจุกช่องเซลล์เพื่อตรวจสอบ ต้องไม่มีประกายไฟ ทั้งนี้เนื่องจากจะมีก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งเป็นก๊าซไวไฟ อาจทำให้เกิดการระเบิดได้
– ควรตรวจสอบสภาพยาง ลูกล้อ ดอกยาง กะทะล้อและน๊อตยึด สำหรับอุตสาหกรรมอาหารบางประเภทซึ่งต้องใช้รถฟอร์คลิฟท์ชนิดล้อไม่มีดอกยางในงานขนถ่าย ลักษณะดังกล่าวนี้ให้ดูระยะใช้งานด้านข้างขอบยางว่าสึกถึงระยะที่กำหนดไว้แล้วหรือยัง หากเป็นรถโฟล์คลิฟท์ขนาดใหญ่เช่น 15 ตันขึ้นไป บางรุ่นยางจะเป็นแบบจุ๊บเลสเติมลม ให้ตรวจสอบความดันลมยางด้วยเกจวัดความดันก่อนใช้งานทุกวัน
– ควรตรวจสอบสภาพแผงงา และงายก การแตกร้าว การสึกของโคนงาและปลายงา และการยึดแน่นของแผงงา
2. ตรวจสอบหลังสตาร์ทเครื่องยนต์ (Functional Check)
การตรวจสอบลำดับนี้ ไม่อนุญาตให้มีผู้คนอยู่ด้านหน้าและด้านหลังรถฟอร์คลิฟท์ เพราะอาจเกิดอันตรายได้
– ควรตรวจสอบระดับน้ำมันเชื้อเพลิงโดยดูจากเกจวัดระดับ แผงหน้าปัทม์ หากเป็นรถฟอร์คลิฟท์ขนาดใหญ่เช่นขนาดใหญ่กว่า 20 ตัน บางรุ่น บางยี่ห้อ จะมีหลอดตาแก้ว (Level glass gauge) อยู่ด้านข้างตัวรถ แม้รถยังไม่สตาร์ทก็ตรวจเช็คระดับน้ำมันเชื่อเพลิงได้
– ควรตรวจสอบการทำงานของเกจวัดบนแผงหน้าปัด
– ควรตรวจสอบการทำงานของระบบไฮดรอลิกส์ โดยควบคุมงาให้ทำงาน 4 ทิศทางคือ ควบคุมงาตามแนวดิ่งขึ้นสุด ควบคุมงาตามแนวดิ่งลงและหยุดเมื่อระดับสูงจากพื้นประมาณ 30 เซนติเมตร ควบคุมงาคว่ำสุด ควบคุมงาหงายสุด การทำงานของไฮดรอลิกส์และระบบงายกที่สมบูรณ์นั้น การเคลื่อนที่ต้องเรียบไม่สะดุด
– ควรตรวจสอบการทำงานของระบบบังคับเลี้ยวและทดสอบระบบเบรค โดยให้ควบคุมรถฟอร์คลิฟท์ ดังนี้
1) เดินหน้าประมาณ 2 เมตรและเบรก
2) ถอยหลังประมาณ 2 เมตรและเบรก
3) เดินหน้า แล้วเลี้ยวซ้ายประมาณ 2-3 เมตรและเบรก
4) เดินหน้า แล้วเลี้ยวขวาประมาณ 2-3 เมตรและเบรก
– ควรตรวจสอบการทำงานของเครื่องยนต์และห้องเกียร์ ให้ฟังเสียงดังที่ผิดปกติและลักษณะการสั่นสะเทือนในขณะทำงาน
– ควรตรวจสอบไฟส่องทำงาน
– ควรทดสอบการทำงานของแตร
– ควรตรวจสอบการทำงานของไฟสัญญาณ ไฟเตือน ไฟวับวาบ ไฟเลี้ยวซ้ายขวา ไฟถอยหลัง และสัญญาณเสียงถอยหลัง
– ควรตรวจสอบความตึงหย่อนของโซ่ขับเคลื่อนแผงงา ยืนยันว่ารถโฟล์คลิฟท์อยู่ที่เกียร์ว่าง ควบคุมเสาฟอร์คดิ่ง และระดับความสูงให้สูงจากพื้นประมาณ 10-30 เซนติเมตร ตรวจสอบดับเครื่องยนต์ ดึงเบรคมือและลงไปหน้ารถฟอร์คลิฟท์ใช้หัวแม่มือกดโซ่ซ้ายขวาพร้อมกันเพื่อตรวจสอบความตึงหย่อน
3. ตรวจสอบหลังจอดเลิกใช้งานประจำวัน (Parking Check)
– ควรจอด รถโฟล์คลิฟท์ในพื้นที่ที่หน่วยงาน หรือองค์กรกำหนดให้
– ควรปลดเกียร์ว่าง
– ควรดึงเบรคมือ
– ควบคุมงาคว่ำหน้าประมาณ 5-10 องศา และลดระดับให้ปลายงาถึงพื้น
– ดับเครื่องยนต์




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การคำนวณน้ำหนักที่รถโฟล์คลิฟท์สามารถยกได้

เทคนิคการใช้งานรถโฟล์คลิฟท์

คู่มือการใช้รถยก FORKLIFT อย่างถูกวิธี [4]